หลักการใช้สีและแสง

หลักการใช้สีและแสง
                  1. RGB
                2. CMYK
                3. HSB
                4. LAB

RGB
                เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี  3 สีคือ แดง  (Red), เขียว  (Green) และสีน้ำเงิน  (Blue)  เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง  16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive  หรือการผสมสีแบบบวก

CMYK

                เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกันจะกเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์  จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB  การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ  RGB ดังภาพ


HSB

                เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                Hue  คือสีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา  ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว  สีเหลือง  สีแดง เป็นต้น
                Saturation  คือความสดของสี  โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation  ที่ 0  สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่  100 สีจะมีความสดมาก
                Brightness  คือระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่  0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ  แต่ถ้ากำหนดที่  100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด
 LAB
                เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                “L”  หรือ  Luminance  เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100  ถ้ากำหนดที่  0  จะกลายเป็นสีดำ  แต่ถ้ากำหนดที่  100 จะเป็นสีขาว
                “A”  เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
                “B”  เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น