รูปแบบของภาพ
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green)
และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง
3 สีมาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก
ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel)
ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ
ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ Vector
หลักการของกราฟิกแบบ
Raster
หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster
หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก
ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ
นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster
จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง
ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่
ดังนั้นการกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะกับงานที่สร้างคือ ถ้าต้องการใช้งานทั่ว
ๆ ไปจะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixel/inch) “จำนวนพิกเซลต่อ 1
ตารางนิ้ว” ถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก
เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi และถ้าเป็นแบบงานพิมพ์
เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350 เป็นต้น ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster
คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม
ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ
Adobe
PhotoShop, Adobe PhotoShopCS, Paint
เป็นต้น
รูปที่ 1.1 ภาพกราฟิกแบบ Raster ที่ขยายใหญ่ขึ้น
แฟ้มภาพกราฟิกแบบ Raster และคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก
นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ
Raster มีหลายนามสกุล
เช่น .BMP, .DIB, .JPG, .JPEG, .JPE, .GIF, .TIFF, .TIF, .PCX, .MSP, .PCD,
.FPX, .IMG, .MAC, .MSP และ .TGA เป็นต้น
ซึ่งลักษณะของแฟ้มภาพจะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น
นามสกุลที่ใช้เก็บ
|
ลักษณะงาน
|
ตัวอย่างซอฟต์แวร์
ที่ใช้สร้าง
|
.JPG, .JPEG, .JPE
|
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไปงานเว็บเพจ
และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่
หน่วยความจำ
|
โปรแกรม PhotoShop,
PaintShopPro,
Illstratior
|
.GIF
|
||
.TIFF, .TIF
|
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร
เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
|
|
.BMP, .DIB
|
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการวินโดว์
|
โปรแกรม PaintShopPro,
Paint
|
.PCX
|
เป็นไฟล์ดั้งเดิมของโปรแกรมแก้ไขภาพแบบบิตแมป
ไม่มีโมเดลเกรย์สเกล ใช้กับภาพทั่วไป
|
โปรแกรม CorelDraw,
Illustrator, Paintbrush
|
หลักการของกราฟิกแบบ
Vector
หลักการของกราฟิกแบบ Vector
เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน
โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง
เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster
ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัยต์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง
ๆ เช่น การออกแบบอาคาร
การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ
Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CoreDraw, AutoCAD, 3Ds max เป็นต้น แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น
จอคอมพิวเตอร์จะเป็นการแสดงผลภาพเป็นแบบ Raster
รูปที่ 1.2 ภาพกราฟิกแบบ Vector ที่ขยายใหญ่ขึ้น
แฟ้มภาพกราฟิกแบบ Vector และคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก
นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ
Vector มีหลายนามสกุลเช่น .EPS, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW,
.PLT, .DXF, .PIC และ .PGL
เป็นต้น
ซึ่งลักษณะของแฟ้มภาพจะแตกต่างกันไป เช่น
นามสกุลที่ใช้เก็บ
|
ลักษณะงาน
|
ตัวอย่างซอฟต์แวร์
ที่ใช้สร้าง
|
.AI
|
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก
เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
|
โปรแกรม Illustrator
|
.EPS
|
||
.WMF
|
ไฟล์มาตรฐานของโปรแกรม Microsoft Office
|
โปรแกรม CorelDraw
|
ความแตกต่างของกราฟิกแบบ
2 มิติ
ภาพกราฟิก 2 มิติแบบ Raster
และ แบบ Vector มีความแตกต่างกันดังนี้
ภาพกราฟิกแบบ Raster
|
ภาพกราฟิกแบบ Vector
|
1. ภาพกราฟิกเกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี (Pixels) มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปภาพ
|
1.
ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณ
โดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อกัน
|
2.
การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้ความละเอียดของภาพลดลง
ทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
|
2.
การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม
|
3.
การตกแต่งและแก้ไขภาพ สามารถทำได้ง่ายและสวยงาม เช่น การ Retouching ภาพคนแก่ให้หนุ่มขึ้น การปรับสีผิวกายให้ขาวเนียนขึ้น เป็นต้น
|
3.
เหมาะกับงานออกแบบต่าง ๆ เช่น งานสถาปัตย์
ออกแบบโลโก
เป็นต้น
|
4.
การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว
|
4.
การประมวลผลภาพจะใช้เวลานาน เนื่องจากใช้คำสั่งในการทำงานมาก
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น